(โดยสังเขป)
วัดตึก เป็นวัดเก่า
สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยใดไม่ปรากฎชัด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราว พ.ศ.๒๓๐๐
โดยสังเกตได้จากสิ่งก่อสร้าง ลักษณะของพระพุทธรูปในอุโบสถ
คือส่วนต่างๆของอุโบสถมีสภาพเก่าคร่ำคร่า และทรุดโทรมมาก สำหรับพระพุทธรูปในอุโบสถ
เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยศิลาแลง ลงรักปิดทองทั้งองค์
หน้าตักกว้างประมาณ 2 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร 40 เซนติเมตร
ไม่ทราบชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง ทราบเพียงว่ามีพระอาจารย์นิลปกครองอยู่สมัยหนึ่ง
แต่จะปกครองอยู่เป็นเวลามากน้อยเท่าใด ไม่ปรากฎหลักฐาน คงตกเป็นวัดร้างอยู่เป็นเวลานานปี
จนถึง พ.ศ.๒๔๒๐ พระอาจารย์เปี่ยมเข้ามาจำพรรษา มีความสามารถในการปกครอง
จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปกครองดูแลตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
วัดนี้มีอุโบสถและศาลาสำหรับชาวบ้านทำบุญอยู่แล้ว แต่มีสภาพทรุดโทรม
ใช้ประกอบกิจกรรมต่างๆไม่ได้
เมื่อพระอาจารย์เปี่ยมเข้ามาจำพรรษาและได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแล้ว
ได้ปรับปรุงที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ตลอดจนถึงปกครองพระสงฆ์ให้ดีขึ้น ราว พ.ศ.๒๔๓๐
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ราว พ.ศ.๒๔๓๕ ทำพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ
จึงใช้ประกอบพิธีสงฆ์ได้อย่างสมบูรณ์ ต่อมาพระอาจารย์ช้อย ติสโส
ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส
ร่วมกับชาวบ้านปรับปรุงให้มีความเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ปรากฏหลักฐานดังนี้ คือ
๑.
บูรณะอุโบสถครั้งใหญ่
โดยทำการรื้อถอนของเก่าและขยายส่วนต่างๆ ออก บูรณะเสร็จราว พ.ศ.๒๔๕๙
๒.
บูรณะฝาผนังอุโบสถที่มีรอยแตกร้าว
อันเนื่องจากรากฐานไม่มั่นคง และถูกความกดดันจากส่วนบน บูรณะราว พ.ศ.๒๔๖๙
๓.
สร้างเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่งที่หน้าบริเวณอุโบสถ
คู่กับเจดีย์องค์เก่าที่มีอยู่ก่อน แต่จะสูงใหญ่เท่าใดไม่ได้คำนวณไว้
๔.
สร้างเขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กตลอดบริเวณหน้าวัด
ทิศเหนือจรดหน้าบริเวณกุฏีสงฆ์ ทิศใต้จรดหน้าบริเวณอุโบสถเพื่อป้องกันน้ำกัดเซาะตลิ่ง
ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย ปัจจุบัยเขื่อนดังกล่าวบางส่วนผุพังไปมากแล้ว
ต่อมามีพระสงฆ์จำนวนมากขึ้น
เสนาสงฆ์จำกัดไม่พอแก่จำนวนพระสงฆ์อยู่อาศัย
จึงบอกบุญไปยังชาวบ้านเพื่อร่วมกันสร้างกุฏีสงฆ์ ครั้นพระอาจารย์ช้อยมรณะภาพ
พระอาจารย์เจียม ธมมฉนโท(พระครูนนทสิทธิคุณ)ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทน
ร่วมมือกับชาวบ้านบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนสงฆ์
และสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์ขึ้นหลายอย่าง ดังปรากฏหลักฐานดังนี้คือ
๑.
พ.ศ.๒๔๘๒ นายจำลอง
นางสิน แก้วจินดา คหบดีแขวงบางอ้อ ธนบุรี สร้างอาคารเรียนถวาย ๑ หลัง เป็นเรือนไม้
๒ ชั้น มีมุขยื่นออกกลาง และได้รับมอบให้ทางราชการ อำเภอเมืองนนทบุรี
เพื่อใช้เป็นอาคารเรียนต่อไป
๒.
พ.ศ.๒๔๙๙
บูรณะอุโบสถด้านหลัง ซึ่งถูกมหาวาตภัยคุกคามพังทลาย บูรณะจนสำเร็จ
และใช้ประกอบพิธีสงฆ์ได้ถึงทุกวันนี้
๓.
พ.ศ.๒๕๐๔
ร่วมมือกับคณะกรรมการและชาวบ้านสร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลัง
ครึ่งตึกครึ่งไม้ชั้นเดียว กว้าง ๑๙ เมตร ยาว ๔๐ เมตร
และต่อเติมศาลาเล็กซึ่งอยู่ติดต่อกันด้วย
๔.
พ.ศ.๒๕๑๖
อนุญาตให้ทางราชการ ใช้ที่ดินของวัดสร้างอาคารเรียน ๑ หลัง แบบ ๐๑๗ และบ้านพักครู
๓ หลัง
๕.
ร่วมมือกับชาวบ้านช่วยกันต่อเศียรพระพุทธรูป
๕ องค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยศิลาแลง ลงรักปิดทองทั้งองค์
ซึ่งถูกผู้ร้ายลักตัดเศียรไป
๖.
พ.ศ.๒๕๒๒
ร่วมมือกับชาวบ้านสร้างกุฏิสงฆ์ ๑ หลัง แบบทรงไทย ๒ ชั้น กว้าง ๖ เมตร ๑๐
เซ็นติเมตร ยาว ๑๕ เมตร
๗.
พ.ศ.๒๕๒๕
ร่วมมือกับคณะกรรมการและชาวบ้านสร้างหอสวดมนต์ ๑ หลัง เป็นตึก ๒ ชั้น กว้าง ๙ เมตร
ยาว ๑๘ เมตร และได้ร่วมบริจาคสมทบทุน ๑ แสนบาท แต่ไม่ทันแล้วเสร็จ
ท่านก็ได้มรณะภาพเสียก่อน
พระครูนนทสิทธิคุณ
(หลวงปู่เจียม ธมมฉนโท) มรณะภาพแล้ว พระคำหมุน ธมมวีโร รองเจ้าอาวาสในขณะนั้น
เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการปกครอง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทน
ตั้งแต่วันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๙ เป็นต้นมา
ได้พัฒนาวัดวาอารามตามที่ปรากฎดังนี้คือ
- อบรมพระภิกษุสามเณรให้อยู่ในระเบียบวินัยสงฆ์
-
ส่งเสริมพระภิกษุสามเณรให้เล่าเรียนศึกษานักธรรมละบาลี
-
เป็นครูสอนนักธรรมแก่พระภิกษุสามเณร
- อบรมศีลแก่ชาวบ้าน
โดยอบรมด้วยตนเองบ้าง จัดพระสงฆ์แสดงธรรมเทศนาบ้าง โดยเฉพาะวันธรรมสวนะหรือวันพระ
จะจัดพระสงฆ์แสดงธรรมทุกวัน
-
ร่วมกับคณะกรรมการและชาวบ้าน ก่อสร้างหอสวดมนต์ที่สร้างค้างอยู่
-
ถมดินบริเวณที่ลุ่มให้สูงพ้นระดับน้ำท่วมถึง
- ร่วมกับครู-อาจารย์โรงเรียน
ทำการย้ายอาคารเรียนหลังเก่าซึ่งสร้างมาเป็นเวลานาน ไปใว้ใกล้กับโรงเรียนหลังใหม่
วัดตึกนี้มีเจ้าอาวาส
หรือ ผู้ปกครองวัด ตั้งแต่ต้นถึงปัจจุบัน ๕ รูป คือ
๑.
พระอาจารย์นิล (ไม่ปรากฎประวัติและภาพถ่ายที่แน่ชัด)
๒.
พระอาจารย์เปี่ยม (ไม่ปรากฎประวัติและภาพถ่ายที่แน่ชัด)
๓.
พระอธิการช้อย ติสโส (ไม่ปรากฎประวัติและภาพถ่ายที่แน่ชัด)
๔.
พระอธิการเจียม
ธมมฉนโท (พระครูนนทสิทธิคุณ)
๕.
พระอธิการคำหมุน
ธมมวีโร
อนึ่งวัดตึกนี้มีสิ่งที่น่าปลื้มมากก็คือ
ในอุโบสถมีพระพุทธรูปสำคัญอยู่ ๕ องค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่ประชาชนชาวบ้านนับถือกราบไหว้บูชาเป็นประจำ
และหน้าบันอุโบสถประดับด้วยถ้วยชามลายคราม สววยงาม น่าชม ปัจจุบันวัดตึกนี้ระหว่างเข้าพรรษาทุกปี
วันธรรมสวนะหรือวันพระ เวลาเช้าจะมีประชาชนร่วมทำบุญตักบาตรกันมากมาย
โดยเฉพาะวันมาฆบูชา และวันวิสาขบูชาเป็นต้น ซึ่งเป็นวัดบูชาใหญ่ นอกจากเวลาเช้า
จะมีประชาชนมาร่วมทำบุญตักบาตร สมาทานศีล และฟังธรรมเทศนาแล้ว
ตอนเย็นหรือค่ำจะมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากนำดอกไม้ธูปเทียนเครื่องสักการะไปเวียนอุโบสถครบสามรอบ
แล้วนำไปร่วมบูชาที่หน้าพระประธานในอุโบสถ ซึ่งเป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่ง
นอกจากที่กล่าวแล้ว
วัดนี้ยังเป็นศูนย์กลางในการประกอบกิจกรรมต่างๆของทางราชการซึ่งเกิดขึ้นภายหลังอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น